ว่ากันด้วยเรื่องของวัตถุดิบที่ไทยนั้นสิ่งออกเป็นอันดับต้นๆ และสามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลแถมยังใช้ได้ทุกส่วนเลยหล่ะครับ ซึ่งวัตถุดิบที่ว่านั้นก็คือ “หนอนไหม”นั้นเองครับ วันนี้เราจึงอยากขออาสาพาไปสำรวจข้อูมลด้านต่างๆ กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่า

หนอนไหมคืออะไร?

หนอนไหม เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิด อยู่ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ่อนเรียกว่า ตัวไหม หรือ หนอนไหม มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เนื่องจากมันสามารถให้เส้นใยเป็นเส้นไหม ผีเสื้อไหมไม่ปรากฏในป่าตามธรรมชาติ การสืบพันธุ์และดำรงชีวิตขึ้นอยู่กับการดูแลของมนุษย์เท่านั้น อาหารที่มันชอบก็คือใบหม่อนขาว (Morus alba) แต่อาจกินใบของพืชชนิดอื่น

ดักแด้ไหม

ดักแด้ไหม ( Silkpupa ) เป็น ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง หลังจากผีเสื้อวางไข่ได้ 10 – 12 วัน หนอนไหม คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ไข่ ( silkworm egg ) ระยะที่ 2 ตัวหนอนไหม ( silkworm ) ระยะที่ 3 ดักแด้ ( silkpupa ) และระยะที่ 4 ผี้เสื้อ ( silk moth ) หนอนไหมเจริญเติบโตได้เร็วมาก หนอนไหมจะลอกคราบ ( Molting ) เป็นระยะ ๆ เมื่อมีอายุ 3 – 4 วัน หนอนไหมจะหยุดกินอาหารและอยู่เฉย ๆ ประมาณ 1 วัน จึงลอกคราบอีก โดยทั่วไปจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อโตเต็มที่อายุประมาณ 9 วัน จะหยุดลอกคราบ เรียก ระยะนี้ว่า ไหมสุก ซึ่งตัวหนอนจะหยุดกินอาหาร และเริ่มพ่นของเหลวชนิดหนึ่งออกมาทางปาก เมื่อของเหลวนี้ถูกอากาศจะแข็งตัวเป็นเส้นไหม ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หุ้มตัวไหมไว้ เรียกว่า รังไหม เราได้เส้นใยไหมจากรังไหมนี้เอง หนอนไหมจะชักใยอยู่ภายใน สร้างรังอยู่ประมาณ 2-3 วัน จะลอกคราบเป็นดักแด้ แล้วกลายเป็นผีเสื้อต่อไปตามวงจรชีวิตของมัน ซึ่งดักแด้จะถูกแปรรูปไปทำผ้าไหมนั้นเองครับ

เส้นไหมที่นำมาทอผ้าเป็นอย่างไร?

เส้นไหมที่ชาวบ้านสมพรรัตน์นำมาทอเป็นผืนผ้านั้น ส่วนหนึ่งได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาวบ้านเอง สมัยก่อนชาวบ้านสมพรรัตน์จะเลี้ยงหนอนไหมสายพันธุ์นางน้อย ปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้พัฒนาสายพันธุ์และส่งเสริมให้เลี้ยงพันธุ์ดอกบัว พันธุ์นางตุ่ย เป็นต้น

●เส้นใยจะเก็บจากไหมสุก ให้ทำการเก็บไหมสุกโดยการใช้มือ นำไปใส่ลงในจ่อ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับไหมทำรัง ปริมาณหนอนไหมต่อจ่อจะต้องมีความเหมาะสมไม่แน่นจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรังแฝด ซึ่งเป็นรังไหมชนิดหนึ่งของรังเสีย การเก็บไหมสุกเข้าจ่อจะต้องทำการเก็บให้ทันเวลา คือ จะต้องเก็บไหมสุกเข้าจ่อก่อนที่ไหมสุกจะพ่นเส้นใยทำรัง เพราะจะกระทบต่อผลผลิตรังไหม

●ซึ่งหลักๆ แล้วจะให้ ให้หนอนไหมทำรังอยู่ในจ่อประมาณ 5-6 วัน จึงทำการเก็บรังไหมออกจากจ่อ จากนั้นก็นำรังไหมไปทำการสาวเส้นไหมต่อไป

ประโยชน์ของไหมและดักแด้มีอะไรบ้าง?

–          ประโยชน์ของหนอนไหม

–          ช่วยบำรุงและพัฒนาสมอง

–          ลดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

–          การกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด

–          ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตันและการทำงานของสมองในด้านการมองเห็น การปรับตัว การเรียนรู้ อารมณ์

–          ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด

ดักแด้ไหมสามารถกินได้หรือไม่?

โปรตีนสูงมาก แมลงดิบแค่ 100 กรัม มีโปรตีนถึง 9-65 กรัมเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับชนิดแมลงที่คุณกิน แมลงที่ให้โปรตีนมากที่สุดคือ ตั๊กแตนปาทังก้า และแมงมัน นั่นเอง โปรตีนที่ได้จากแมลงใกล้เคียงกับโปรตีนที่ได้จากไข่ไก่ 1 ฟอง หรือหมูบด เนื้อไก่ 100 กรัมเลย

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “หนอนไหม หรือดักแด้” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับ หนอนไหม กันมากขึ้นกันนะครับ