หลายๆ ท่านก็คงจะประสบพบเห็นการปลูกต้นกล้วยหรือลงพืชสวนในที่ดินว่างปล่าวในเมืองกรุงเทพกันมาบ้างใช่มั้ยหล่ะครับ ทุก ๆท่านก็คงจะสงสัยกันเป็นแน่ว่าเค้าทำแบบนี้ไปกันทำไม วันนี้เราเลยจะพาทุกๆ ท่านไปหาคำตอบพร้อมกับหาความรู้เกี่ยวกับ “ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษีที่ดิน” ที่น่าสนใจไปพร้อมๆ กันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภาษีที่ดิน”

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีรายปีที่เก็บ และคิดจากมูลค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้างที่เราครอบครอง  ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างนี้ถูกประกาศใช้เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่แทนที่ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” กับ “ภาษีบำรุงท้องที่” ด้วยเหตุว่ามันมีความซ้ำซ้อนกันเกิดขึ้น นั่นก็แปลว่า ถ้าใครยังพูดถึงภาษีโรงเรือนหรือภาษีบำรุงท้องที่ตอนนี้ก็เชยไปเสียแล้ว เพราะทุกวันนี้เราใช้กฎหมายตัวเดียวที่เรียกว่า “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” นั้นเอง โดย ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น มีเงื่อนไขดังนี้

  • เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)
  • ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

สาเหตุของการนำพืชมาปลูกตามที่ดินว่างเปล่าเป็นเพราะอะไร?

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้กำหนดอัตราภาษีในส่วนของผู้ใช้ที่ดินสำหรับทำการเกษตรไว้ในอัตราต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับผู้มีที่ดินว่างเปล่า ที่จะต้องเสียอัตราภาษีสูงมาก จึงเป็นแรงจูงใจทำให้ผู้มีที่ดินว่างเปล่าหันมาใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร เพื่อบริหารจัดการภาระภาษี ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2567 นี้ ซึ่งหากปลูกพืชการเกษตรอันตราการเสียภาษีก็จะถูกว่าทิ้งว่างไว้นั้นเองครับ

กฎหมายมีการระบจำนวนต้นหรือพรรณพืชที่สามารถปลูกไว้หรือไม่ และอย่างไร?

กฎหมายตัวนี้ยังมีบัญชีแนบท้ายด้วยว่า การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ต้องมากแค่ไหนจึงจะถือว่าใช้ทำเกษตรจริง เช่น

  • กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่
  • มะม่วง 20 ต้น/ไร่
  • มะนาว 50 ต้น/ไร่
  • ยางพารา 80 ต้น/ไร่
  • ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่

แล้วการทำ “สัญญาเช่าที่ดิน” เป็นอย่างไรกันนะ?

สัญญาเช่าที่ดินเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของสัญญาตอบแทนรูปแบบหนึ่ง โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย คือ ผู้เช่าและผู้ให้เช่ามีความสัมพันธ์ต่อกัน คือผู้เช่าต้องจ่ายค่าเช่า ส่วนผู้ให้เช่าต้องให้สิทธิ์ในการครอบครองที่ระบุในสัญญาเช่า

“ผู้เช่า” และ “ผู้ให้เช่า” ตามกฏหมายระบุไว้ว่าอย่างไร?

  • ผู้เช่า คือ ผู้ที่มีหน้าที่จ่ายค่าเช่าตอบแทนแก่ผู้ให้เช่าตามจำนวนและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า อีกทั้งผู้เช่ายังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ตนเองเช่า และคืนการครอบครองให้ผู้ให้เช่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญาเช่า
  • ผู้ให้เช่า คือ ผู้ที่มีหน้าที่มอบสิทธิในการครอบครองให้ผู้เช่าตลอดระยะเวลาของการเช่า และสามารถกำหนดในสัญญาได้ว่าสิทธิการให้เช่านั้นเฉพาะอยู่ที่ผู้ให้เช่าเท่านั้น

ซึ่งผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่เป็นใครก็ได้ที่ได้รับมอบอำนาจหรือความยินยอมจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้นำทรัพย์นั้นออกให้เช่า

หนังสือสัญญาเช่าที่ดินประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

  1. ผู้ให้เช่าและผู้เช่าสามารถทำสัญญาเช่าที่ดินระหว่างกันเองได้
  2. ระบุรายละเอียดของ “ผู้เช่า” และ “ผู้ให้เช่า” ให้ชัดเจน
  3. ระบุค่าตอบแทน หรือ “ค่าเช่า” ให้ชัดเจน
  4. ระบุช่วงเวลาการเช่าให้ชัดเจน ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงวันสิ้นสุด
  5. ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ตกลงกันไว้
  6. ลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่ายให้เรียบร้อย

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษีที่ดิน” พร้อมกับความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการ การเช่าที่ดินที่น่าสนใจมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันครับ