ว่ากันด้วยเรื่องของเงินและที่ดินนั้น สำหรับคนในสมัยก่อนก็มักจะบอกว่า “ให้ซื้อที่ดินเก็บไว้” เพราราคาที่ดินมีแต่จะเพิ่ม ซึ่งหากทำเลเหล่านั้นเป็นย่านที่กำลังเติบโต ก็ย่อมทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นเป็นอย่างมากอย่างแน่นอนครับ วันนี้เราเลยจะขอพาทุกๆ ท่านไปหาความรู้เกี่ยวกับ “การจะเป็นเจ้าของที่ดิน นอกจากมีเงินต้องทำอะไรบ้าง?” กันครับ เราไปลุยกันเล้ยย!!

นิยามของเจ้าของที่ดิน หมายถึงอะไร?

เจ้าของที่ดิน หมายถึง คนในครัวเรือนนั้นมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ๑.๑ กรณีที่ผู้ซื้อชาระเงินค่าที่ดินแก่ผู้ขายยังไม่ครบ แต่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไปจ านอง ไว้กับธนาคาร แล้วผู้ซื้อผ่อนชาระเงินกับธนาคารเป็นงวดๆ ให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าของที่ดิน

3 ข้อดีของการเป็นเจ้าของที่ดินในต่างจังหวัด

  • ที่ดินในต่างจังหวัดมีราคาถูกเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่จะได้เป็นเจ้าของ เนื่องจากที่ดินในต่างจังหวัดยังห่างไกลจากถนนใหญ่แล้ความเจริญ จึงทำให้ราคาของที่ดินเหล่านั้นถูกกว่าในชานเมืองและตัวเมืองกรุงนั้นเองครับ
  • มีกฏหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษีขึ้นอยู่สภาพพื้นที่ที่ถูกกว่าผืนที่ดินในเมืองกรุงซึ่งจะมีการเรียกเก็บภาษีพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ทำการตามกฏหมายนั้นเองครับ
  • ที่ดินในต่างจังหวัดมีความหลากหลายให้เราเลือกได้สรรตามความต้องการของทุกๆ ท่านได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ทำเลดีไม่ดีนั้น ราคาก็จะแตกต่างกันไปอีกด้วย

การเสียภาษีที่ดิน

1. “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นภาษีรูปแบบใหม่ที่มาแทน “ภาษีบำรุงท้องที่” และ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือพูดง่าย ๆ คือรัฐไม่ต้องการให้ที่ดินถูกทิ้งร้างโดยไม่เกิดการพัฒนา ผู้ที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้มี 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

  • เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดิน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากใครมีชื่อเป็น “เจ้าของ” คน ๆ นั้นคือ ผู้ที่ต้องเสียภาษี
  • เจ้าของห้องชุด หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด (คอนโดมิเนียม) ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  • ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้

2. ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อ ผู้เป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในวันที่ 1 มกราคมของทุก ๆ ปี จะต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน แต่เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายใหม่ กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ

3. ที่ดินเพื่อการเกษตร รัฐจะเก็บภาษีสูงสุดเพียง 0.15% ของมูลค่าทรัพย์สิน โดยที่ 3 ปีแรก คือปี 2563 – 2565 รัฐจะยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของที่เป็น “บุคคลธรรมดา”

4. ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย โดยผู้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเป็นเพียงเจ้าของบ้านที่ไปปลูกในที่ดินของคนอื่นจะได้รับการยกเว้นในกรณีที่บ้านหลังนั้นมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้หากมีบ้านหลายหลังก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะบ้านหลังหลักเท่านั้น

หลักที่ควรพิจารณาก่อนซื้อที่ดิน

  • คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการซื้อ การเลือกซื้อสิ่งของต่าง ๆ แน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีเหตุผลในการซื้อที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับการเลือกซื้อที่ดิน เพราะผู้ซื้อควรทราบวัตถุประสงค์ก่อนว่าจะซื้อที่ดินเพื่ออะไร เช่น บางคนซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต หรือเก็บไว้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง เช่นทำการเกษตรหรือสร้างที่พักอาศัย ซึ่งกรณีนี้ก็ต้องคำนึงถึงสาธารณูปโภคและความสะดวกเป็นหลัก ในขณะเดียวกันบางคนต้องการซื้อเพื่อการลงทุนและเก็งกำไร การเลือกซื้อจึงต้องคำนึงถึงทำเลและความคุ้มค่าเป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์ในการซื้อที่ดินจะช่วยให้เราคำนวณงบประมาณและสเปคที่ดินได้ง่ายขึ้น
  • ทำเลคือสิ่งที่สำคัญที่สุด หากกล่าวถึงเทคนิคการซื้อที่ดินเปล่า แน่นอนว่าต้องมีเรื่องของทำเลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะทำเลคือหัวใจสำคัญในการเลือกซื้อที่ดิน โดยการซื้อที่ดินควรพิจารณาพื้นที่โดยรอบในอนาคตด้วยว่ามีโอกาสเติบโตมากน้อยเพียงใด เช่น ในอนาคตอาจมีห้างสรรพสินค้า มีรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินตัดผ่าน หรือมีการตัดถนนเพื่อพัฒนาความเจริญของพื้นที่หรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบในการเลือกซื้อที่ดิน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าที่ดินได้มาก สร้างเม็ดเงินได้สูง แต่หากตั้งใจซื้อที่ดินเพื่อการการเกษตรก็ควรพิจารณาเรื่องการเดินทาง ทางระบายน้ำ ความสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเรื่องเกี่ยวกับ “การจะเป็นเจ้าของที่ดิน นอกจากมีเงินต้องทำอะไรบ้าง?”ที่เราได้นำมาฝากพร้อมกับข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ