นิทานพื้นบ้านอีสาน-ปู่ตั๋วหลาน

ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยก็ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นของงานวรรณกรรม  ซึ่งมีลักษณะต่างๆ แต่ละลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามภูมิภาคของพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนในยุคนั้น  แต่ในปัจจุบันนี้ลักษณะของงานวรรณกรรมไทยได้เปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านรูปแบบแนวคิดรวมไปถึงเนื้อหาสิ่งต่างๆ เหล่านี้  เปลี่ยนแปลงไปตามการได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตก  ดังนั้น วันนี้เรามาลองย้อนดูงานวรรณกรรมของไทยตั้งแต่ยุคเริ่มแรกมาจนถึงปัจจุบันกันค่ะ

  1. ยุคเริ่มแรก  เป็นที่มาของวรรณกรรมแปลและวรรณกรรมแปลง วรรณกรรมชุดนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องกับรัชกาลที่ 6 เป็นช่วงที่วงการเขียนของไทย เปลี่ยนแปลงสู่วรรณกรรมไทยฉบับปัจจุบันโดยเปลี่ยนจากการเขียนร้อยกรองมาเป็นร้อยแก้วตามอิทธิพลของชาติตะวันตกและในช่วงนี้เองก็ได้ทำให้เกิดนักเขียนแนวใหม่ขึ้นมามากมายซึ่งในปัจจุบันนี้แต่ละท่านกลายเป็นนักเขียน นวนิยายและเรื่องสั้นที่ผลิตผลงานออกมามากมายและหลายท่านก็คือศิลปินแห่งชาติ ที่มีชื่อเสียง เป็นที่จดจำมาจนถึงยุคนี้
  2. ยุครุ่งอรุณ  เป็นยุคแห่งงานวรรณกรรมไทยแนวจิตนิยม เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในช่วงนั้นบ้านเมืองเราเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่แล้วนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ จะมีการนำเสนอการแก้ปัญหาโดยการเก็บภาษี  ในช่วงนั้นเองหนังสือพิมพ์ก็มีบทบาทในการให้การศึกษาและแนะแนวด้านการปกครอง  โดยการนำเสนอบทความวิพากษ์วิจารณ์สภาพบ้านเมือง  รวมไปถึงมีการแนะนำระบบประชาธิปไตย  หรือระบบการปกครองแบบใหม่  จึงทำให้ วรรณกรรมไทยกลายเป็นที่รู้จัก ของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้นหนุ่มสาวจึงหันมาให้ความสนใจในเรื่องงานเขียนวรรณกรรมมากขึ้น
  3. ยุครัฐนิยม  เป็นยุคของวรรณกรรมแนวก้าวหน้าสืบเนื่องมาจากการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  มาสู่ประชาธิปไตย  สังคมและบ้านเมืองจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ชนชั้นกลางมีอำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจ ดังนั้นวงการวรรณกรรมของไทยจึงมีการเปลี่ยนไป ตั้งแต่นักเขียนต้องหาเลี้ยงชีพขาดผู้อุปการะ แต่ก็ยังมีขบวนการของคณะราชที่มุ่งเน้นความเสมอภาคทำให้มีผู้มีจิตสำนึกหันมาสนใจปัญหาความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ในยุคนี้จึงเป็นยุคแห่งการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมแนวก้าวหน้าและจิตสำนึกอันเป็นลักษณะเด่นของวรรณกรรมในยุคนี้นั่นเอง
  4. ยุคกบฏสันติภาพ  เป็นยุคแห่งวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตเกิดขึ้นหลังจากการทำรัฐประหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม วรรณกรรมในยุคนี้จึงเป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับศิลปะเพื่อชีวิต
  5. ยุคสมัยแห่งความเงียบ  ที่มาของงานวรรณกรรมน้ำเน่า เป็นยุคที่ นักเขียนหลายท่านกล่าวถึงว่าเป็นยุคมืดทางปัญญาวรรณกรรมเพื่อชีวิตกลับชะงักไปในขณะที่งานวรรณกรรมเพื่อศิลปะกลับมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวนิยายบันเทิงคดีแนวพาฝัน
  6. ยุคฉันจึงมาหาความหมาย  เป็นยุคทองของงานวรรณกรรมหนุ่มสาวซึ่งนักศึกษาได้รับความกดดันจากระบบเผด็จการจากชนชั้นปกครองซึ่งค่อนข้างที่จะขาดเสรีภาพในช่วงนั้นงานวรรณกรรมในยุคนี้ ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก
  7. ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน  เป็นวรรณกรรมเพื่อประชาชนงานวรรณกรรมเพื่อชีวิตทั้งงานเก่างานใหม่รวมไปถึงเรื่องสั้นต่างๆได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในยุคนี้