วรรณกรรมไทย

            รูปแบบและลักษณะของงานวรรณกรรม ถือว่าเป็นศิลปะทางด้านภาษาที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ สะท้อนถึงสภาพสังคมวัฒนธรรมร่วมเพศถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและคำสอนที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งลักษณะเด่นของวรรณกรรมไทยในปัจจุบันมี 4 ประการดังนี้

  1. รูปแบบของวรรณกรรมไทยมีรูปแบบการแต่งที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น หลุดออกไปจากกรอบเดิมๆเมื่อสมัยก่อนดังนี้

  •  การเขียนร้อยกรอง ในปัจจุบันนี้จะค่อนข้างมุ่งเน้นการนำเสนอข้อคิดเห็นหรือความคิดมากกว่าความไพเราะสวยงามทางด้านภาษาและวรรณศิลป์ของร้อยกรองสมัยก่อนดังนั้นการเขียนร้อยกรองในสมัยนี้จึงค่อนข้างมีลักษณะที่สั้นไม่เคร่งครัดทางด้านฉันทลักษณ์และไม่สนใจขนบธรรมเนียมในการแต่งนิยมใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆเป็นภาษาพูดสื่อความหมายชัดเจนให้ผู้อ่านเข้าใจ
  • เรื่องสั้นเป็นรูปแบบการเขียนบันเทิงคดีที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากผู้อ่านส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดสั้นเป็นเรื่องสมมุติเหตุการณ์และสถานที่ในเรื่องให้มีความสมจริง
  • นวนิยายเป็นรูปแบบการเขียนบันเทิงคดีแบบใหม่แต่มีขนาดยาวและผู้แต่งสามารถกำหนดตัวบุคคลเหตุการณ์สถานที่ต่างๆโดยไม่จำกัดแนวการเขียนแบบนี้แบ่งออกเป็นแนวพาฝันแนวชีวิตครอบครัวแนวจิตวิทยาแนวลูกทุ่งแนวราชสำนักและแนวการเมือง ซึ่งถ้าหากแบ่งตามแนวการเขียนทางตะวันตกก็จะประกอบด้วยแนวโรแมนติก แนวสัจนิยม แนวธรรมชาตินิยมและแนวสัจนิยมใหม่เป็นต้น
  • บทละครพูด เป็นบทละครที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีทั้งบทละครแปลและบทละครแปลงรวมไปถึงบทละครที่คนไทยเราคิดแต่งขึ้นมาเองซึ่งในปัจจุบันนี้บทละครไม่ได้มุ่งเน้นเขียนเพื่อไปใช้แสดงจริงแต่มุ่งเน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความคิดของผู้แต่งส่งออกไปยังผู้อ่านเท่านั้น
  • เป็นการเขียนร้อยแก้ว ที่มุ่งเน้นข้อเท็จจริง มากกว่าความเพลิดเพลิน

2. แนวคิดหรือปรัชญาของเรื่อง เป็นการนำเสนอแนวคิดตามแนวปรัชญาของวรรณกรรมตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมประเภทนวนิยายเรื่องสั้นรวมไปถึงบทละครพูด

3. เนื้อหาของงานวรรณกรรมไทยปัจจุบันจะเป็นเรื่องราวของสามัญชนซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีชีวิตตามสภาพความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบันไม่นิยมกล่าวถึงเรื่องของนรกสวรรค์มากนัก แต่จะพูดถึงเรื่องที่ใกล้ตัวของผู้อ่านไม่ว่าจะเป็นการเมืองสภาพเศรษฐกิจและสังคมซึ่งสะท้อนสภาพวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันมากขึ้น

4. กลวิธีในการแต่งวรรณกรรมปัจจุบันนี้มีการเขียนชวนให้น่าติดตามอย่างมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นการยกตัวอย่างสุภาษิตคำคม  มีการดำเนินเรื่องให้มีความน่าสนใจและน่าติดตาม  ตัวละครต่างๆผลัดกันเล่าเรื่อง  การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อการนำเสนอแนวความคิด  และใช้วิธีการปิดเรื่องซึ่งทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ  รวมไปถึงการปิดเรื่องแบบหักมุมหรือพลิกความคาดหมาย  โดยการใช้กลวิธีต่างๆ เหล่านี้เราล้วนแต่ได้รับอิทธิพลการเขียนมาจากทางตะวันตกทั้งสิ้น